วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

แลนไร้สาย


   
     จุดเด่นของระบบแลนไร้สายมีหลายประการ โดยเฉพาะในอดีตปัญหาทางเทคโนโลยีเป็นข้อจำกัด เพราะไม่สามารถสร้างระบบ VLSI (วงจรรวมขนาดใหญ่มาก) ที่ใช้งานย่านความถี่สูงมาก กินกำลังไฟฟ้าต่ำ มีขนาดเล็กและเบา ปัจจุบันสามารถพัฒนาวงจร CMOS ซึ่งเป็นหัวใจของการผลิตชิพที่มีวงจรซับซ้อน ให้กินกำลังงานไฟฟ้าต่ำมาก และใช้กับความถี่สูงย่านไมโครเวฟได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ระบบแแลนไร้สายจึงตอบสนองความต้องการเด่น ๆ ต่อไปนี้ได้
     ความยืดหยุ่นในการใช้งาน สภาพปัจจุบันผู้ใช้งานมีเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาที่เรียกว่าโน้ตบุคกันเป็นส่วนใหญ่ โน้ตบุคมีขนาดเล็กลงจนสามารถนำติดต่อไปใช้ที่ต่าง ๆ ได้สะดวก การนำโน้ตบุคต่อกับสายแลนจึงไม่สะดวก อีกทั้งสภาพการทำงานเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ทำให้ผู้ใช้ไม่ถูกยึดติดอยู่กับที่ เช่น การนำโน้ตบุคเข้าห้องประชุม การปรึกษาหารือระหว่างกลุ่มย่อย แลนที่ใช้ถ้าเป็นระบบสายจะยุ่งยากในการปรับเปลี่ยน แต่สำหรับแลนไร้สายจะประกอบด้วย การ์ดไคลแอนต์ ซึ่งเป็นแผนวงจรขนาดเล็ก ขนาด PCMCIA ที่ต่อเข้ากับโน้ตบุคเท่านั้น และส่วนที่เป็นแอกเซสพอยต์ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อที่นำไปวางไว้ที่ใดก็ได้ หรือจะติดยึดกับฝาผนัง ฝ้า เพดาน หรือจะเคลื่อนย้ายไปที่ใดก็ได้ โดยด้านหนึ่งรับสัญญาณวิทยุ อีกด้านหนึ่งเป็นสายต่อเชื่อมเข้าสู่ระบบเครือข่าย การติดตั้งแลนไร้สายจึงทำได้ง่ายกว่ามาก




ระบบแลนไร้สายที่เชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่าย

    ความยืดหยุ่นจึงหมายถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการติดตั้งทำได้ง่าย โดยเฉพาะการดำเนินงานเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้
     การนำติดตัว (Mobility) การเคลื่อนย้ายของผู้ใช้อาจไม่เฉพาะเจาะจงอยู่ในที่ทำงานอย่างเดียว อาจครอบคลุมเลยไปยังที่ต่าง ๆ เช่น การจัดประชุมสัมมนา การเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ โดยผู้ใช้ติดตั้งไปเฉพาะโน้ตบุคก็สามารถเข้าถึงเครือข่ายได้

สื่อกลางในการส่งข้อมูล


     ตัวกลางหรือสายเชื่อมโยง เป็นส่วนที่ทำให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และอุปกรณ์นี้ยอมให้ข่าวสารข้อมูลเดินทางผ่าน จากผู้ส่งไปสู่ผู้รับ สื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลมีอยู่หลายประเภท แต่ละประเภทมความแตกต่างกันในด้านของปริมาณข้อมูล ที่สื่อกลางนั้น ๆ สามารถนำผ่านไปได้ในเวลาขณะใดขณะหนึ่ง การวัดปริมาณหรือความจุในการนำข้อมูลหรือ ที่เรียกกันว่าแบบด์วิดท์ (bandwidth) มีหน่วยเป็น
จำนวนบิตข้อมูลต่อวินาที (bit per second : bps)

หลักการพิจารณาเลือกใช้สื่อกลาง
1. ต้นทุน   

            - พิจารณาต้นทุนของตัวอุปกรณ์ที่ใช้
            - พิจารณาต้นทุนการติดตั้งอุปกรณ์
            - เปรียบเทียบราคาของอุปกรณ์ และประสิทธิภาพการใช้งาน
2. ความเร็ว

            - ความเร็วในการส่งผ่านสัญญาณ จำนวนบิตต่อวินาที
            - ความเร็วในการแพร่สัญญาณ ข้อมูลที่สามารถเคลื่อนที่ผ่านสื่อกลางไปได้
3. ระยะทาง  

           - สื่อกลางแต่ละชนิดมีความสามารถในการส่งสัญญาณข้อมูลไปได้ในระยะทางต่างกัน ดังนั้นการเลือกใช้สื่อกลางแต่ละชนิดจะต้องทราบข้อจำกัดด้านระยะทาง เพื่อที่จะต้องทำการติดตั้งอุปกรณ์ทบทวนสัญญาณเมื่อใช้สื่อกลางในระยะไกล
4. สภาพแวดล้อม

         - เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในเลือกใช้สื่อกลาง เช่น สภาพแวดล้อมที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลจะมีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่าง ๆ ดังนั้นการเลือกใช้สื่อกลางควรเลือกสื่อกลางที่ทนทานต่อสัญญาณรบกวนได้ดี
5. ความปลอดภัยของข้อมูล 

       -หากสื่อกลางที่เลือกใช้ไม่สามารถป้องกันการลักลอบนำข้อมูลไปได้ ดังนั้นการสื่อสารข้อมูลจะต้องมีการ เข้ารหัสข้อมูลก่อนที่จะส่งไปในสื่อกลาง และผู้รับก็ต้องมีการถอดรหัสที่ใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน จึงจะสามารถนำข้อมูลนั้นไปใช้ได้

การสื่อสารข้อมูล


     การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
     วิธีการส่งข้อมูลนี้ จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ หรือรหัสเสียก่อนแล้วจึงส่งไปยังผู้รับ และเมื่อถึงปลายทางหรือผู้รับก็จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้นกลับมาให้อยู่ในรูปที่มนุษย์ สามารถที่จะเข้าใจได้ ในระหว่างการส่งอาจจะมีอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นก็คือ สิ่งรบกวน (Noise) จากภายนอกทำให้ข้อมูลบางส่วนเสียหายหรือผิดเพี้ยนไปได้ซึ่งระยะทางก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยเพราะถ้าระยะทางในการส่งยิ่งมากก็อาจจะทำให้เกิดสิ่งรบกวนได้มากเช่นกัน จึงต้องมีหาวิธีลดสิ่งรบกวนเหล่านี้ โดยการพัฒนาตัวกลางในการสื่อสารที่จะทำให้เกิดการรบกวนน้อยที่สุด

ICT คือ อะไร?

     

        ICT เป็นคำย่อ มาจากคำเต็มว่า "Information and Communications Technology" ซึ่งแปลเป็นไทยว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร"
      โดยทั่วไปคำว่า ICT มักถูกใช้เป็นคำพ้องความหมายกับคำว่า IT: Information Technology (เทคโนโลยีสารสนเทศ) แต่โดยปกติจะเป็นคำทั่วไปที่เน้นบทบาทของการสื่อสาร (ผ่านทางสายโทรศัพท์และสัญญาณไร้สาย) ในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ โดย ICT ประกอบด้วยวิธีการทางเทคนิคทั้งมวลที่ใช้ในการจัดการสารสนเทศและช่วยเหลือการสื่อสาร ซึ่งรวมถึงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่าย รวมทั้งซอฟต์แวร์ที่จำเป็น
หรืออีกนัยหนึ่ง ICT ประกอบด้วย IT, การสื่อสารผ่านทางระบบโทรศัพท์, สื่อกระจายสัญญาณ, รวมไปถึงการประมวลผลและการส่งสัญญาณภาพและเสียง
       ในบางเอกสารอาจมีนิยามที่ลงรายละเอียดมากกว่า เช่น ICT คือ การผสมผสานเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่ครอบคลุมระบบสื่อสาร ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร รวมทั้งเครื่องมือสื่อสารอื่นๆ เข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ ซอฟท์แวร์ ฐานข้อมูล และบริการสารสนเทศ ตลอดจนระบบเครือข่ายโทรคมนาคมจำนวนมากที่เชื่อมโยงติดต่อกัน และใช้ร่วมกันได้

ไอซีที ระดมความคิดเห็นภาคเอกชนพัฒนาระบบข้อมูลกลาง


ระดมความคิด
     
      “กระทรวงฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดทำโครงสร้างอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย จึงได้ดำเนินโครงการฯ นี้ขึ้น เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาอุตสาหกรรม ICT ของไทยให้สามารถก้าวหน้าพัฒนาเข้าสู่ระดับสากล แต่ในการดำเนินการพัฒนาระบบจำเป็นต้องได้รับแนวคิด ข้อคิดเห็นจากผู้ประกอบการ เพื่อที่จะนำมาพัฒนาระบบให้ตรงกับความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้งานข้อมูล รวมทั้งเพื่อจัดทำเป็นนโยบายและมาตรการเพื่อส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จะช่วยสนับสนุนระบบเศรษฐกิจของประเทศอย่างแท้จริง” นายวรพัฒน์ กล่าว
      ปัจจุบันโครงการฯ นี้ อยู่ระหว่างดำเนินการออกแบบระบบต้นแบบ ดังนั้น สำนักส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการฯ ได้เห็นควรที่จะต้องดำเนินการจัดการสัมมนาเพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายการส่งเสริมและศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงข้อมูลด้านอุตสาหกรรมและการตลาดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมถึงระดมข้อคิดเห็นต่างๆ จากผู้ประกอบการภาคเอกชน เพื่อนำความต้องการจากภาคเอกชน มาวิเคราะห์และใช้ในการพัฒนาระบบข้อมูลกลางด้านอุตสาหกรรมและการตลาด ICT ของประเทศไทย